ชัชชาติ เตรียมเพิ่มช่องร้องเรียนทุจริตใน Traffy fondue

ชัชชาติ เตรียมเพิ่มช่องร้องเรียนทุจริตใน Traffy fondue

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เตรียมเพิ่มช่องร้องเรียนทุจริตใน Traffy fondue ย้ำทุกโครงการต้องโปร่งใส ไม่ล็อกสเปก หลังร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการจัดทำระบบการวางแผนทรัพยากรกทม. วันนี้ (5 ก.ค.65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการจัดทำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรของกรุงเทพมหานคร (BMA-ERP) และโครงการพัฒนาระบบศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพมหานคร (BMA-OSS) ว่า

วันนี้เป็นการประชุมติดตามความคืบหน้า 2 เรื่องที่ 1. โครงการจัดทำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรของกรุงเทพมหานคร (BMA-ERP) 

ที่ผ่านมากทม.ยังไม่มีระบบนี้ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน ปัจจุบันโครงการฯ อยู่ในระหว่างการดำเนินการ วันนี้เป็นการรายงานความคืบหน้าว่าไปถึงไหนแล้ว ที่ผ่านมาการบริหารจัดการข้อมูลเป็นในรูปแบบของแต่ละหน่วยงานต่างดำเนินการกันเอง ทำให้ข้อมูลไม่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน หากทำการบริหารจัดการข้อมูลให้ดีจะทำให้เราใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งได้เน้นย้ำว่าขอให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ได้ราคาถูกที่สุด และได้คุณภาพที่ดี อย่าให้มีการล็อกสเปกใด ๆ ทั้งสิ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำทีโออาร์

เรื่องที่ 2. โครงการพัฒนาระบบศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS) หรือวันสต็อปเซอร์วิส เป็นโครงการที่ได้มีการจัดจ้างไปเมื่อเดือนมีนาคม 65 เป็นระบบที่ทำให้สามารถยื่นขอใบอนุญาตต่าง ๆ ได้ที่จุดเดียวและมีการดำเนินการแบบออนไลน์ ทำให้สะดวกขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นหนึ่งใน 217 นโยบายด้วย

ต้องขอบคุณทางผู้บริหารชุดที่แล้วได้เริ่มโครงการมาก่อน แต่หัวใจของโครงการไม่ใช่แค่เรื่องอำนวยความสะดวกแต่เป็นเรื่องการสร้างความโปร่งใสด้วย เพราะว่าจุดประสงค์ของวันสต็อปเซอร์วิส คือต้องลดการใช้วิจารณญาณหรือดุลพินิจของแต่ละบุคคล แต่ละเจ้าหน้าที่ ดังนั้นอะไรที่สามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือไอทีในการตัดสินใจได้ให้ดำเนินการ หากมีรูปแบบหรือขอบเขตงานใดที่ไม่ได้อยู่ในสัญญาให้แนะนำไว้

เช่น เรายื่นแบบก่อสร้าง ระยะเว้น ระยะร่น ถ้าเราส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถดำเนินการตรวจสอบเองเลยได้ไหม ไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจ ให้ทั้งหมดเป็นอิเล็กทรอนิกส์ และใช้ระบบคอมพิวเตอร์ AI ตรวจสอบเองได้หรือไม่ เพื่อลดการพบเจอเจ้าหน้าที่ ซึ่งเรื่องนี้องค์การต่อต้านคอรัปชันก็ให้ความสำคัญ โครงการนี้จะเป็นตัวกลาง ที่นอกจากความสะดวกแล้วก็น่าจะลดเรื่องการทุจริตคอรัปชัน การใช้ดุลพินิจ ปัญหาต่าง ๆ ที่มีคนร้องเรียนเข้ามา

ทั้งนี้ ต้องเรียนว่าทั้งสองโครงการมีความคืบหน้าและเป็นโครงการที่ผู้บริหารชุดก่อนที่ได้เริ่มไว้ ต้องขอขอบคุณ แล้วเราจะดำเนินการต่อและจะทำตามให้ตรงวัตถุประสงค์ของโครงการและจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

ครม. เห็นชอบ MOU ไทย-กัมพูชา จัดการ แก๊งคอลเซ็นเตอร์

คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบกับร่าง MOU ระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา ในการจัดการกับ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) และ Hybrid Scam (5 ก.ค.65) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปราม แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) และ Hybrid Scam

เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่ของทั้ง 2 ประเทศ ได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมและมีความสอดคล้องกับกฎหมายภายในของทั้ง 2 ประเทศ แลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับปราบปรามผู้กระทำผิด ตลอดจนการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่ของทั้งไทยและกัมพูชา เพื่อผลักดันมาตรการต่างๆ ร่วมกัน เน้นย้ำนโยบายที่รัฐบาลถือว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นเร่งด่วน เนื่องจากมีประชาชนชาวไทยได้รับผลกระทบและเสียหายจากการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ในลักษณะดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

สาระสำคัญของความตกลงระหว่างไทยและกัมพูชา จะมีกิจกรรมที่ผ่านการตัดสินใจร่วมกัน ดังนี้

1) แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิค และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam ภายใต้ระบบและกรอบการทำงานที่ดำเนินงานร่วมกัน อาทิ กลไกสนับสุนทีนส่งเสริมส่งผ่านข้อมูลข้ามพรมแดน

2) แต่งตั้งผู้ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสืบหาหลักฐานในไทย และกัมพูชา และขยายการสืบสวนเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำความผิดโดยหลักฐานดังกล่าวอาจจะรวมถึงข้อมูลที่อยู่ผู้ใช้บริการการสื่อสารทางเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต และบันทึกการใช้โทรศัพท์ของผู้กระทำความผิดที่ได้กระทำระหว่างก่ออาชญากรรมทั้ง 2 ประเทศ

3) ประสานงานและอำนวยความสะดวกในกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามสนธิสัญญาระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยการส่งผู้รายข้ามแดน รวมทั้งกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศของผู้เข้าร่วมทั้ง 2 ฝ่าย

4) ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของทั้งไทยและกัมพูชา

5) ความร่วมมืออื่นๆ ตามที่ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน

การลงนามจะมีขึ้นในวันที่ 11 ก.ค. 2565 ที่กัมพูชา ในโอกาสที่นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะเดินทางไปเยือนกัมพูชา เพื่อติดตามาประเด็นการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า